วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รวมคำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์
webmaster - เป็นคําสอนและคติธรรมของหลวงปู่ที่กล่าวกันอยู่เนืองๆ  และเป็นแก่นหลักสําคัญในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์  แต่ควรมีความเข้าใจทึ่ถูกต้องจึงจักสําเร็จผลสมดั่งคําสอนของหลวงปู่, อันท่านหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์(หมายถึง เกิดเวทนา) หรือก็คือไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง  เพราะทุกๆความคิดนึกปรุงแต่งอันคือความคิดที่ฟุ่มเฟือยเกินจําเป็น, อันเป็นขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งซึ่งย่อมต้องเกิดเวทนาหรือการเสวยอารมณ์ร่วมด้วยทุกๆความคิดที่ปรุงแต่ง  อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท, จึงทําให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวจากความคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านนั้นๆ,  จิตไม่ส่งออกนอกในความหมายของท่านจึงหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกเพื่อไม่ไปกระทบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมมารมณ์หรือความคิด อันล้วนแต่ให้เกิดคิดนึกปรุงแต่ง  หรือก็คือหยุดคิดนึกปรุงแต่ง
    อย่าส่งจิตออกนอก อีกอย่างหนึ่งซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือ อย่าส่งจิตออกไปนอก กาย เวทนา จิต ธรรม ตามหลักสติปัฏฐาน๔ นั่นเอง,  จิตหรือสติอยู่กับกายไม่ส่งออกไปปรุงแต่ง ดังเช่นกายานุปัสสนา(การพิจารณากายเพื่อให้เกิดนิพพิทา,  แต่ไม่ใช่หมายถึงจิตส่งใน หรือ จิตส่องจดจ่อจดจ้องไปเสพผลอันสุขสบายอันเกิดแต่กายหรือจิตที่เกิดจากอำนาจของฌานหรือสมาธ)จึงจักถูกต้อง  อันจะครอบคลุมถึงการให้จิตอยู่กับเวทนานุปัสสนา(เห็นเวทนา),จิตตานุปัสสนา(จิตเห็นจิตหรือความคิด) หรือธรรมานุปัสสนาหรือธรรมะวิจยะ(การพิจารณาธรรม)ก็ได้  อันล้วนเป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน๔ในชีวิตประจําวันนั่นเอง,  การพิจารณาธรรม - ไม่ใช่ความคิดที่ส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง, เป็นความคิดที่มีคุณประโยชน์จําเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดสัมมาญาณ อันยังให้เกิดสัมมาวิมุติ-สุขจากการหลุดพ้น,   ต้องไม่ใช่ไปอยู่กับผลของสมาธิคือจิตไม่ส่งออกนอกแต่ไปคอยจดจ้องหรือยึดความเบากาย เบาใจ ภายในกายหรือจิตของตนเองอันเกิดจากผลของสมาธิ อันเป็นการเข้าใจผิด, แยกแยะให้ดีด้วย เพราะมีความฉิวเฉียดต่างกันเพียงน้อยนิด แต่ผลออกมาต่างกันราวฟ้ากับดิน อันแรกก่อให้เกิดสัมมาญาณอันจักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ, แต่อันหลังก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษอย่างรุนแรงในภายหลัง
   หรืออาจกล่าวได้ว่า อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะคิดนึกปรุงแต่งคือเกิดขันธ์๕ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์  เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

"คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้  ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้  แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้"  (น.๔๕๖)
webmaster - คําอธิบายที่ปรากฏต่อจากข้อธรรมทั้งหลายคือคําอธิบายของwebmaster เป็นความเข้าใจของwebmasterต่อข้อธรรมของท่าน ท่านต้องพิจารณาโยนิโสมนสิการเองว่าถูกต้องหรือไม่   ควรใช้หลักกาลามสูตร
หลวงปู่หมายถึง คิด(นึกปรุงแต่ง)เท่าไรๆก็ไม่รู้จักนิโรธ   ต่อเมื่อหยุดคิด(นึกปรุงแต่ง)ได้จึงรู้จักสภาวะนิโรธ   แต่ก็ต้องอาศัยคิด(พิจารณาในธรรม - ธรรมวิจยะในสัมโพชฌงค์๗, หรือ ธรรมานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔) นั่นแหละจึงจะรู้จึงจะเข้าใจ (เพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง พิจารณาเปรียบเทียบกับวงจรปฏิจจสมุปบาท คิดนึกปรุงแต่งคือหมายเลข 22 และรวมถึงหมายเลข 24 ในภาพขยายด้านล่าง)

เกี่ยวกับนิมิต "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง"  (น.๔๕๔)
webmaster - เขาเห็นนิมิตในความรู้สึกรับรู้ของเขาจริงๆ ไม่ได้โกหกหรือหลอกลวง, เพียงแต่สิ่งที่เห็นไม่ได้เป็นความจริง จึงอย่าไปอยาก อย่าไปยึด, แต่ในบางครั้งเป็นจริงได้ตามสภาวะธรรมชาติเหมือนความคิดของเราที่ถูกบ้างผิดบ้าง เพราะตามจริงแล้วสิ่งที่เห็นนั้นก็คือความคิดของเราที่ถูกฝึก ปฏิบัติจนสามารถบังคับหรือปั้นเป็นจินตภาพ(ภาพ)ตามความคิดหรือความรู้สึกของเราเป็นส่วนใหญ่อันเกิดแต่การสั่งสม อบรม ปฏิบัติมา,  ดังนั้นจึงอย่าไปยึดไปอยาก เพราะจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสอันนําไปสู่ทุกข์ในที่สุด

 "ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕,  แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท,  หยุดการปรุงแต่ง,  หยุดการแสวงหา,  หยุดกริยาจิต  มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล"  (น.๕๐๖)
webmaster - หยุดการปรุงแต่ง คือหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันทําให้เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา(รายละเอียดคิดนึกปรุงแต่งหมายเลข22และ14ในบทวงจร)
หยุดการแสวงหา หยุดการแสวงหาด้วยความปรารถนาทั้งทางโลกและธรรม
หยุดกริยาจิต คือ หยุดกริยาอาการฟุ้งซ่านของจิต คือ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (สังโยชน์ ข้อ๙)
อันล้วนเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕นั่นเอง

"เวทนากับร่างกายนั้นมีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย"   (น.๕๐๔)
webmaster - เวทนาทางกาย เจ็บปวดเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดไปห้ามได้   แต่ไม่เสวย(ผลอันเนื่องจาก)เวทนาทางใจ คือไม่เอาเวทนาทางใจที่ย่อมเกิดทุกขเวทนาร่วมด้วยเป็นธรรมดานั้น ไปปรุงแต่งให้เกิดตัณหา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อุปาทาน  จึงเสวยเพียงทุกขเวทนาตามธรรมหรือธรรมชาติ แต่ไม่แปรไปเป็นเวทนูปาทานขันธ์ คือเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทานที่แสนเร่าร้อนเผาลน  จึงไม่เป็นอุปาทานทุกข์   หรือก็คือการไม่ไปยึด,ไม่ไปอยาก หรือไม่อยาก ในเวทนาที่เกิดขึ้นนั่นเอง


มีผู้เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า "ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม?"
หลวงปู่ตอบสั้นๆว่า "มี แต่ไม่เอา"   (น.๔๖๑)
webmaster - หลวงปู่ตอบตามความสัตย์ว่า มี แต่หมายถึงมีตามธรรมชาติของขันธ์๕ไปถึงเวทนาความรู้สึกไม่สบาย,ไม่ชอบ  มาสิ้นสุดที่สังขารขันธ์เป็นความคิดโทสะ-ความโกรธ ครบขันธ์๕ตามธรรมชาติหรือตามสภาวะธรรม, มีความโกรธ,ไม่พอใจ, ไม่ถูกใจอันเป็นสังขารขันธ์สภาวะธรรม(ชาติ)ปกติธรรมดาที่เกิดขึ้น อันเป็นเรื่องของสังขารขันธ์อันไปรับรู้และตอบสนองเวทนาอันเป็นขบวนการธรรมชาติธรรมดาๆ  อันพึงมีทั้งองค์อรหันต์และปุถุชน,  แต่ไม่เอา ท่านหมายถึงไม่เอามาคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดตัณหาอีก มันก็จบลงเพียงเท่านั้น คือเกิดชั่วขณะในขบวนการขันธ์๕แล้วดับไป อุปมาดั่งท่านตีแขนตัวเองแรงๆ แล้วสังเกตุดูให้ดีดังนี้  ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บเกิดขึ้น  ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บดับไป,  ดังนั้นการคิดนึกปรุงแต่งอันมักจะเกิดอย่างต่อเนื่อง(หลายๆความคิดนึกปรุงแต่งนั่นเอง) และแต่ละคิดนึกปรุงแต่งเป็นขันธ์๕กระบวนการหนึ่ง อันย่อมยังให้เกิดเวทนาตามความคิดนึกปรุงแต่งแต่ละครั้ง อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นนั้นได้ อันยังให้เกิดอุปาทาน, อันจักยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์,  เมื่อไม่เอาไปคิดนึกปรุงแต่ง จึงไม่เกิดอุปาทานทุกข์ใดๆตามหลักปฏิจจสมุปบาท,  ดังนั้นถ้าขยายคําตอบของหลวงปู่ออกมาน่าจะเป็นดังนี้ "มีโกรธ แต่ไม่เอาไปคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดตัณหาให้ยืดยาวจนเป็นทุกข์จากอุปาทานขันธ์๕"(ดูในบท วงจร หมายเลข 22 อันคือคิดนึกปรุงแต่งอันไปยังให้เกิดขันธ์๕ขึ้นอีก จนอาจเกิดตัณหาขึ้นได้จากเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งนั้น)
    ท่านลองโยนิโสมนสิการอย่างแยบคายจริงๆในการตีแขนแรงๆ,  การตีแขนเป็นอาการขันธ์๕ ชนิดหนึ่ง คือ กายนอกที่ตี+กระทบผัสสะกับ+กายในอันรับรู้ความรู้สึก  อันทํางานเช่นเดียวกับ คิดหรือธรรมารมณ์(ใจ)+กระทบผัสสะกับ+ใจที่รับรู้
    เมื่อเราตีลงไป ความรู้สึกเจ็บเกิดขึ้น  และยังตั้งอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่งเป็นธรรมชาติ ถ้าเราหยุดตีเสีย ก็จะดับไปในไม่ช้าถ้าเราไม่ไปตีอีกโดยเฉพาะถ้าตีซํ้าๆกัน  ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับความทุกข์อันเกิดแต่ความคิดนึกปรุงแต่งที่ต่อเนื่องกันจนดูเหมือนเป็นสายธารแห่งความทุกข์อันรุนแรงและยาวนาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตามปรมัตถธรรมมันเกิดดับๆๆ แต่เพราะความไม่รู้จึงปล่อยให้มันเกิดดับๆๆ...อย่างต่อเนื่องจนแยกไม่ออกดูประหนึ่งว่าเป็นชิ้นหรือมวลเดียวกัน จึงไม่รู้ว่ามันอยู่ใต้อํานาจของธรรม(ชาติ)ของพระไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตนเป็นแก่นแกนอย่างแท้จริงตลอดไป

อีกครั้งหนึ่ง มีผู้เรียนถามหลวงปู่เรื่องการละกิเลส "หลวงปู่ครับทําอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้"
    หลวงปู่ตอบว่า
    "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน......เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง."    (น.๔๖๒)
webmaster - คือมีโกรธตามขันธ์๕ อันเป็นสภาวะธรรมชาติเพราะเกิดเวทนาแล้วเกิดสังขารขันธ์ทางใจหรือจิตสังขารเป็นความโกรธ(โทสะ)ซึ่งเป็นเจตนาทางมโนสังขารหรือจิตสังขารที่ตอบสนองต่อเวทนาที่เกิด, มี แต่รู้ทัน(มีสติ) แล้วไม่คิดนึกปรุงแต่ง(หมายเลข22)อันเปิดโอกาสให้เกิดตัณหา, มันก็จักเป็นทุกข์อุปาทานไม่ได้ แล้วมันก็ดับไปเองตามธรรม(ชาติ)"

มีผู้กราบเรียนถามหลวงปู่เรื่องการไว้ทุกข์
หลวงปู่ตอบว่า "ทุกข์ ต้องกําหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทําไม"   (น.๔๖๔)
webmaster - หลวงปู่อธิบายกิจญาณหรือกิจอันควรกระทําต่ออริยสัจ๔ คือ ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรธทําให้แจ้ง มรรคให้ปฏิบัติ,
คือเมื่อรู้ทุกข์แล้ว   ก็ให้ละเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย

มีผู้อวดอ้างของวิเศษจากสัตว์ต่างๆนาๆ แล้วเรียนถามหลวงปู่ว่าอันไหนวิเศษกว่ากัน หลวงปู่ตอบว่า
"ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน"   (น.๔๖๕)
webmaster - หลวงปู่กล่าวตามความเป็นจริงแห่งธรรม ไม่สนับสนุนเพราะเป็นทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตปาทาน คือยึดมั่นในศีลและข้อวัตรปฏิบัติอย่างผิดๆ งมงาย

"เมื่อตาเห็นรูปแล้ว รู้ว่าสวยงาม หรือน่ารังเกียจอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้
เมื่อหูได้ยินเสียง รู้ว่าไพเราะ หรือน่ารําคาญอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้
เมื่อลิ้นได้ลิ้มรส รู้ว่าอร่อย หรือไม่อร่อย เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้
เมื่อจมูกได้กลิ่น หอมหรือเหม็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้
เมื่อกายสัมผัสโผฎฐัพพะ รู้ว่าอ่อนแข็งเป็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้"   (น.๒๑๘)
Webmaster - หลวงปู่ท่านพูดเกี่ยวกับขันธ์ ๕ เช่นเมื่อตากระทบรูปย่อมเกิดเวทนา เป็นสุขเวทนาหรือทุกข์เวทนาคือชอบหรือไม่ชอบหรือเฉยๆอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา  แล้วเกิดกระบวนการสรุปในที่สุดเป็นสังขารทางใจหรือมโนสังขารคือความคิดว่ารูปนั้น สวยงามหรือน่ารังเกียจ เป็นผลของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ ออกมา แล้วหลวงปู่กล่าวสอนต่อว่า"แล้วก็หยุดเพียงเท่านี้" หมายถึง หยุดคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านเสียนั่นเอง(คิดปรุงแต่งนั่นแหละที่จะก่อให้เกิดตัณหา)มันก็จะไม่เป็นทุกข์ เป็นแค่ขันธ์ ๕ ไว้ใช้งานธรรมดาๆ หรือเป็นการปฏิบัติตามคําที่กล่าวว่า "เห็นสักแต่ว่าเห็น หรือได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน" ไม่ใช่เห็นหรือได้ยินแล้วต้องเฉยๆไม่มีความรู้สึกรู้สา ซึ่งเป็นการกดข่ม  เห็น,ได้ยินแล้วรับรู้ตามความเป็นจริงแล้วไม่คิดนึกปรุงแต่งอันอาจยังให้เกิดตัณหาขึ้น หรืออุเบกขาเสียนั่นเอง  จึงเป็นการถูกต้อง(หมายเลข22ในวงจรคือ คิดนึกปรุงแต่งนี้หรือตัวที่จะทําให้เกิดตัณหา)
    กล่าวคือ ตัณหาที่เกิดนั้นไม่ได้เกิดจากความคิดหรือสังขารขันธ์แรกๆ แต่เกิดจากเวทนาของความคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่วนเวียนปรุงแต่งขึ้นมาเรื่อยๆ  หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก(ไปคิดนึกปรุงแต่ง)  หรือก็คือวางใจเป็นอุเบกขาเป็นกลางวางเฉย, วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งฝ่ายดีหรือชั่ว(ไม่ดี) เพราะล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาจึงยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้น   อันเกิดขึ้นดังรายระเอียดต่อไปนี้
    ลองดูกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นตามที่หลวงปู่กล่าว  จะแสดงการเกิดตัณหาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย  ดังนี้ (ถ้าต้องการดูรูปประกอบ ให้คลิกดูที่หมายเลข8ในวงจร)
ตา + รูป http://www.nkgen.com/next_arrow.gif วิญญาณตา http://www.nkgen.com/next_arrow.gifผัสสะhttp://www.nkgen.com/next_arrow.gif สัญญาจํา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif เวทนา(ชอบ,ไม่ชอบ) http://www.nkgen.com/next_arrow.gif สัญญาหมายรู้ http://www.nkgen.com/next_arrow.gif วิญญาณ-ใจรับรู้ http://www.nkgen.com/next_arrow.gif สังขารทางใจ ออกมาว่า "สวย"หรือ "น่ารังเกียจ" และ + หยุดการคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่จักเกิดขึ้นต่อจากนั้น   เพราะถ้ามีการคิด(นึกปรุงแต่ง)ดําเนินต่อไปอีก ก็คือความคิดที่เป็นขันธ์๕ ที่เกิดขึ้นใหม่อีก อันย่อมบังเกิดเวทนาควบคู่มาด้วยเป็นธรรมชาติ และบางเวทนาจากความคิดนึกปรุงแต่งนี้แหละที่อาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา  นี่คือสิ่งที่ท่านหลวงปู่ดูลย์แนะนําให้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทและความเข้าใจขันธ์ ๕,  ตรงนี้สําคัญมากเพราะมักมองไม่ออกว่าเพราะเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดตัณหาขึ้น  ไม่ใช่จากสังขารขันธ์เช่นความสวยหรือความคิดโดยตรงๆ  แต่จากเวทนาความรับรู้ความรู้สึกและความจําได้อันร่วมกันเป็นเวทนา  ลองสังเกตุกระบวนธรรมแบบไม่ขยายรายละเอียด จะเห็นตัณหาที่เกิดจากเวทนาหรือเข้ากระทําต่อเวทนาที่เกิดจากความคิด(นึกปรุงแต่ง)ชัดแจ้งขึ้น
ใจ+คิดนึกปรุงแต่ง http://www.nkgen.com/next_arrow.gif วิญญาณ http://www.nkgen.com/next_arrow.gifผัสสะhttp://www.nkgen.com/next_arrow.gif เวทนา + ตัณหา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อุปาทาน http://www.nkgen.com/next_arrow.gif ภพ http://www.nkgen.com/next_arrow.gif ชาติอันคืออุปาทานสัญญา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อุปาทานสังขารเช่นคิดที่เป็นทุกข์
และแม้แต่เป็นทุกข์แล้ว ก็ต้องหยุดคิด(นึกปรุงแต่ง)เช่นกัน คือคิดนึกปรุงแต่งแต่ที่หมายเลข14 ( ภาพขยายของ 14 )ในวงจร อันเป็นอุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆ วนเวียนอยู่นั่นเอง

หลักธรรมที่หลวงปู่ใช้พิจารณาคือ "สัพเพสังขารา สัพพะสัญญา อนัตตา" ซึ่งมีคําขยายความในหนังสือหน้า๔๔ ดังนี้ "เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป สภาพแห่งการเป็นตัวตนไม่มี ความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร"   (น.๔๓)
webmaster - เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕ คือเมื่อเกิดเวทนาแล้ว ย่อมต้องเกิดสังขารขันธ์อันเป็นผลออกมาในที่สุด  แล้วไม่คิดปรุงแต่งจึงยังให้ไม่เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้ไม่เกิดตัณหา จึงไม่เกิดอุปาทานความเป็นตัวตนหรือตัวกูของกู ตัวตนหรืออุปาทานก็จักเกิดไม่ได้นั่นเอง, ดังนั้นความเป็นตัวตนจักไม่มี คือไม่มีความเป็นตัวกู,ของกูหรือตัวตนของอุปาทาน "เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง"คือไม่ปรุงแต่งตัณหาหรือคิดนึกปรุงแต่งนั่นแล ตัวตนอุปาทานจึงไม่เกิดหรือดับ ทุกข์จึงบังเกิดขึ้นไม่ได้(อุปาทานขันธ์๕ที่เกิดในชาติ-ชรามรณะนั่นเอง)

มีผู้เรียนถามหลวงปู่ "พระอรหันต์ท่านเคยนอนหลับฝันเหมือนคนธรรมดาด้วยหรือเปล่าครับ "
ท่านตอบว่า "การหลับแล้วเกิดฝัน เป็นเรื่องของสังขารขันธ์ไม่ใช่หรือ"    (น.๕๐๒)
"webmaster - ในเมื่อเป็นเรื่องสังขารขันธ์ ย่อมเป็นสภาธรรมหรือธรรมชาติของขันธ์ ๕ คือ"ฝัน"   เพราะขันธ์ ๕ ประกอบกันเป็นชีวิตและทํางานประสานกันในการดําเนินชีวิตอันปกติ มีในอริยะบุคคลและปุถุชนเช่นกัน   แต่เวทนาของท่านไม่ร้อยรัดจนเกิดตัณหา ดังนั้นสังขารขันธ์ของท่านจึงหมดจดต่างกับปุถุชน  
ดังนั้นคำตอบของหลวงปู่คือ ฝัน  (พิจารณาเรื่องนี้ได้โดยละเอียดในบท ขันธ์ ๕)

ลวงปู่อาพาธหนักอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ มีผู้เข้าเยี่ยมแล้วเรียนถามหลวงปู่
"หลวงปู่ยังมีเวทนาอยู่หรือ" หลวงปู่ตอบว่า "เวทนากับร่างกาย มีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย"    (น.๕๐๔)
webmaster - หลวงปู่หมายถึงเวทนาที่เกิดกับกายนั้น จริงๆแล้วก็เป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นั่นเอง รับรู้ความรู้สึกหรือเวทนาเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติเหมือนปุถุชน เพียงแต่ท่านไม่เสวย(ผลอันเนื่องจาก)เวทนา กล่าวคือไม่ไปยึดเวทนาหรือความรู้สึกนั้น หรือไม่มีความอยาก หรือไม่อยากในเวทนานั้น  อันเป็นผลให้ไม่เกิดความทุกข์แก่ใจอันเร่าร้อนเผาลน คืออุปาทานเวทนา(เวทนูปาทานขันธ์)  หรือไม่เสวยผลของเวทนานั้นทางใจนั้นสืบต่อไปนั่นเอง กล่าวคือเจ็บนั้นเจ็บอยู่ ทั้งทุกขเวทนาทางกายและใจ  แต่ไม่เป็นอุปาทานทุกข์ จึงไม่กระวนกระวายเร่าร้อยถึงเผาลน  ซึ่งปุถุชนทั่วไปฟังแล้วอาจรู้สึกประหลาดหรือไม่เข้าใจ

เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไร ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น, อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง, อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงามให้จิตได้โอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป อย่าไปใส่ใจอีกต่อไป พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้เอง หยุดกันเพียงเท่านี้"  (น.๒๒๐)
Webmaster - คือเกิดขันธ์ ๕ เป็นปกติ คือจิตเกิดเวทนา(เมื่อกระทบกับอารมณ์ภายนอก)อย่างไรก็ตาม ให้หยุดเพียงเท่านั้น คืออย่าให้เกิดตัณหาขึ้นนั่นเอง เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม  ตัณหาย่อมมักไหลเลื่อนมากับนึกคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆ ยิ่งคิดปรุงแต่งยืดยาวถี่บ่อยเท่าใด ตัณหาก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น (หมายเลข22 และ14ในวงจร ซึ่งยิ่งคิดปรุงแต่งมากเท่าใดอันล้วนเป็นขันธ์๕ทั้งสิ้น โดยเฉพาะใน14 เป็นอุปาทานขันธ์๕แล้ว คิดวนเวียนเกิดๆดับๆในทุกข์นั้น ให้ยิ่งมากขึ้นไปอืก) เพราะย่อมต้องเกิดเวทนาร่วมด้วยทุกครั้งทุกที  อันหมายถึงเป็นการเปิดโอกาสให้อาจจะมีตัณหาเกิดขึ้นได้ทุกครั้งเช่นกัน เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทในข้อธรรมที่ว่า "เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา"
วิธีการนี้ก็คือ การอุเบกขาในสัมโพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้นั่นเอง

ิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทําสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา,  กิเลสปรุงจิต คือการที่สิ่งภายนอกเข้ามาทําให้จิตเป็นไปตามอํานาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่  สําคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป     (น. ๔๘๒)
webmaster - จิตปรุงกิเลส หลวงปู่หมายถึงการที่กิเลสตัณหาเกิดขึ้นเพราะจิตเกิด "สังขารคิด"(ที่สั่งสมไว้ตามหลักปฏิจจสมุปบาท.)อันยังให้เกิดทุกข์หรือจิตนึกคิดขึ้นมาเป็นมูลเหตุเบื้องต้น,  และกิเลสปรุงจิตคือกิเลสทุกข์ที่มีเหตุเกิดทาง "สฬายตนะ"เป็นมูลเหตุ อันคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันไปกระทบผัสสะกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์โดยตรง   อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน (ในวงจรปฏิจจสมุปบาท, จิตปรุงกิเลส-เกิดจากหมายเลข 2, กิเลสปรุงจิต-เกิดจากหมายเลข 5 )

.......แท้จริงแล้วความทุกข์ร้อนวุ่นวายใจ มักเกิดจากสิ่งภายในใจเราทั้งสิ้น คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันก่อขึ้นภายในใจ จนต้องดิ้นรนอย่างน่าเวทนายิ่ง   (น.๕๖)
webmaster - นี่แหละคืออาการ"จิตปรุงกิเลส"วุ่นวายใจก็คือสังขารคิดในปฏิจจสมุปบาท แล้วเกิดตัณหาอุปาทานไปตามธรรม

มีไฟไหม้ใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ผลคือความทุกข์ยากสูญเสีย บางคนเสียใจจนเสียสติ บางรายก็มาลําเลิกให้หลวงปู่ฟังว่า อุตส่าห์ทําบุญเข้าวัด ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ทําไมบุญกุศลจึงไม่ช่วยคุ้มครอง และหลายรายเลิกเข้าวัดทําบุญ เพราะธรรมะไม่ช่วยให้เขาพ้นจากไฟไหม้
หลวงปู่ได้กล่าวว่า"ไฟมันทําตามหน้าที่ของมัน  ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น หมายความว่า ความอันตรธาน ความวิบัติ ความเสื่อมสลาย ความพลัดพรากจากกัน สิ่งเหล่านี้มันมีประจําโลกอยู่แล้ว ทีนี้ผู้มีธรรมะ ผู้ปฏิบัติธรรมะเมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้ว จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก ไม่ใช่ธรรมะช่วยไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย ไม่ให้หิว ไม่ให้ไฟไหม้ ไม่ใช่อย่างนั้น."   (น.๔๙๘)
ผู้เขียน-นี่แหละสีลัพพตปรามาสคือยึดมั่นในศีลและข้อปฏิบัติแบบผิดๆ ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติแม้ตัวผู้เขียนเองก็เคยมีความรู้สึกเยี่ยงนี้อย่างรุนแรงในความหวังแบบ "สีลัพพตปรามาส"แบบนี้มาโดยตลอด โดยหวังว่าบุญกุศลใดๆที่กระทําจักมาช่วยในการแก้เหตุแห่งทุกข์ในทางโลกๆนั้นโดยตรงๆ เช่นยากจนก็ขอให้รวย,เจ็บป่วยก็ขอให้หาย,ให้สุขสบายด้วยทรัพย์สินเงินทอง, ไม่มีทุกข์, ไม่มีโศก, หายโรค, ไม่มีภัย ไม่มีเคราะห์ อันล้วนเป็นความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)และยอมรับความเป็นจริงในไตรลักษณ์ ในความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากไปยึด เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นแก่นสารสาระเพราะล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย, เราต้องปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง "เหตุของทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น "คือเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์มีอยู่จริงเพราะเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ), แต่จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ คือดับทุกข์ที่เกิดแต่ใจหรือก็คืออุปาทานทุกข์นั่นเองตามที่พระพุทธองค์ทรงพรํ่าสั่งสอน จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงจักก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม และก็อย่าลืม "เหตุของทุกข์ "หรือเหตุปัจจัยที่ทําให้เกิดนั้น ก็อยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์เช่นกัน มีความไม่เที่ยงแปรปรวนและก็ต้องดับไปเช่นกันในที่สุด และต้องมีความเข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)ว่า
ทุกข์จากขันธ์๕(เวทนา)อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)ยังคงมีอยู่ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์
ลองพิจารณา "ไฟก็ทําตามหน้าที่ของมัน" ที่หลวงปู่กล่าวนั้น เป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆ

ส่วนผู้ที่ประสบภัยพิบัติ  หรือผู้ที่ตกในสภาวะอับจน  ก็ไม่ควรหมดอาลัยตายอยากควรทําจิตใจให้สงบระงับตั้งมั่นอยู่ ก็จะค่อยๆหาทางออกให้แก่ตนได้ เพราะปัญหาทุกอย่างที่ไม่มีทางออกทางแก้ย่อมไม่มีในโลก ดูเอาเถอะว่า แม้แต่ปัญหาเรื่องความทุกข์ อันเกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธองค์ก็ยังหาคําตอบไว้ให้ได้ สําหรับปัญหาอื่นๆ อันเล็กน้อยจะไม่มีคําตอบได้อย่างไร   (น.๑๔๑)
webmaster - มื่อเป็นทุกข์ เรามักลืมว่าเหตุแห่งทุกข์ เช่น ภัยพิบัติ สภาวะอับจน สภาวะหมดหวังก็อยู่ภายใต้อํานาจพระไตรลักษณ์ จึงควรทําความสงบระงับตั้งมั่นไว้ดั่งหลวงปู่สั่งสอนแล้วก็จักค่อยๆคลี่คลายไปในที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์เผาลนใจ   ดังคําของพระอริยะเจ้าที่กล่าวไว้ว่า
ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น  ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่  ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา  เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ (น.๔๖๙)
webmaster - สติ ตัวรู้ คือสิ่งเดียวกัน และให้มันต่อเนื่อง อันคือสัมมาสมาธินั่นเอง   ดังนั้นตัวรู้นั้นท่านหมายถึงสติ  และให้เป็นสัมมาสมาธิคือให้มันมีความต่อเนื่องกันไปตลอด,  และผู้เขียนขอให้ระวัง "ผู้รู้ ตัวรู้ หรือ ธาตุรู้ " ที่จักเกิดเป็นตัวตน อันเกิดจากการอุปโลกของจิต คือเกิดจากการไปยึดไปหลงสติหรือตัวรู้ ธาตุรู้หรือการเห็นคิดซ้อนคิด หรือสติเห็นคิด นั้น  ทําให้เกิดภาวะเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา อันเป็นการยึดมั่นถือมั่นในตัวในตนหนักเข้าไปอีก  อันผิดหลักในการปฏิบัติที่ให้ "นําออก และ ละ เสียซึ่งความเป็นตัวเป็นตน" กลับไปสร้างตัวตนให้ยึดมั่น ถือมั่น เชื่อมั่น ขึ้นมาอีกตัวตนหนึ่งซึ่งมีอํานาจมากในอันที่จะชักจูงจิตให้ออกนอกลู่ผิดทาง อันยังให้ง่ายต่อการเกิดสีลัพพตุปาทาน และวิปัสสนูปกิเลส

"คําสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่น  เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง  คําสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย  แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน  การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก  หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจักหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้  แล้วเราจะหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน  เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้  ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้พ้นทุกข์เสีย  มิฉนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป  เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงําปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน"  (น.๔๗๙)
webmaster - เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหนก็ตาม ล้วนเป็นธรรมเดียวกันทั้งสิ้น เพราะตั้งอยู่ตามความเป็นจริงของกฎธรรมชาติขั้นปรมัตถ์คือสูงสุดแล้วนั่นเอง

มีผู้เรียนถามถึงเรื่องหยุดคิด หยุดนึก
    หลวงปู่บอกว่า
    "ก็แสดงถึงความผิดพลาดอยู่แล้ว  เพราะบอกให้หยุดคิดหยุดนึก  ก็กลับไปคิดที่จะหยุดคิดนั่นเสียอีกเล่า  แล้วอาการหยุดจักอุบัติขึ้นได้อย่างไร  จงกําจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึกเสียให้สิ้นเลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิดเสียก็สิ้นเรื่อง"  (น. ๔๘๘)
webmaster - รู้เท่าทันตามความเป็นจริงแห่งธรรมแล้วหยุดคิดหยุดนึกปรุงแต่งดื้อๆนี่แหละคือสิ่งที่หลวงปู่หมายถึง คือไม่ต้องหาเหตุมาปลอบจิต ไม่เออออ ไม่คล้อยตาม ไม่ผลักไส แม้กระทั่งไม่คิดไปยึดว่าถูกหรือผิด  ดีหรือชั่ว บุญหรือบาป เพราะล้วนแล้วแต่เป็นคิดนึกปรุงแต่งได้ทั้งสิ้น,  แต่ขอเน้นสักนิดว่าหยุดคิดหยุดนึกหลวงปู่หมายถึงหยุดคิดนึกปรุงแต่ง http://www.nkgen.com/next_arrow.gif เพราะเป็นการเกิดขันธ์ ๕ http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา http://www.nkgen.com/next_arrow.gif อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์นั่นเอง